วันเสาร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

พระคาถาอาการะวัตตาสูตร

อานิสงส์พระอาการะวัตตาสูตร
.......... ชนทั้งหลายเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ได้เจริญพระอาการะวัตตาสูตรนี้ แม้เพียงครั้งหนึ่งจะคุ้มครองภัยอันตราย ๓๐ ประการ ได้ถึง ๔ เดือน ยกเว้นแต่ภัยอันตรายที่บังเกิดขึ้นแล้วแต่ผลวิบากแห่งอกุศลกรรมเท่านั้น ถ้าผู้ใดเจริญ พระสูตรนี้เป็นนิจ บาปกรรมทั้งปวงก็จะไม่ได้ช่องหยั่งลงไปในสันดาน เว้นแต่กรรมเก่าตามมาทันเท่านั้น ผู้ใด อุตสาหะตั้งจิตใจเล่าเรียน ได้ใช้สวดมนต์ก็ดี บอกเล่าผู้อื่นให้เลื่อมใสก็ดี เขียนเองก็ดี กระทำสักการะบูชา เคารพนับถือพร้อมกาย วาจา ใจก็ดี ผู้นั้นจะปราถนาสิ่งใดก็จะสำเร็จผลทุกประการ แม้จะปราถนา พระพุทธภูมิ พระปัจเจกภูมิ พระอัครสาวกภูมิหรือ จะปราถนามนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ นิพพานสมบัติ ก็ส่งผลให้ได้สำเร็จสมความปราถนาทั้งนั้น

ก่อนสวดพระอาการะวัตตาสูตร
ตั้งนะโมฯ ๓ จบ
แล้วบูชาด้วย

" เอวัมเม สุตัง เอกัง สะมะยัง ภะคะวา ราชะคะเห วิหะระติ คิชฌะกูเฏ ปัพพะเต เตนะ โข ปะนะ สะมะเยนะ สัพพะสัตตานัง พุทธะคุโณ ธัมมะคุโณ สังฆะคุโณ อายัสมา อานันโท อนุรุทโธ สารีปุตโต โมคคัลลาโน มะหิทธิโก มะหานุภาเวนะ สัตตานัง เอตะทะโวจะ "

พระคาถาอาการะวัตตาสูตร
1. อิติปิโสภะคะวา อะระหัง
อิติปิโสภะคะวา สัมมาสัมพุทโธ
อิติปิโสภะคะวา วิชชาจะระณะสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สุคะโต
อิติปิโสภะคะวา โลกะวิทู
อิติปิโสภะคะวา อะนุตตะโรปุริสะธัมมะสาระถิ
อิติปิโสภะคะวา สัตถาเทวะมะนุสสานัง
อิติปิโสภะคะวา พุทโธ
อิติปิโสภะคะวา ภะคะวาติ
(พุทธะคุณะวัคโค ปะฐะโม)

2. อิติปิโสภะคะวา อะภินิหาระ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อุฬารัชฌาสะยะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปะนิธานะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา มะหากะรุณา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปะโยคะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ยุติ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ชุติ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา คัพภะโอกกันติ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา คัพภะฐิติ ปาระมิสัมปันโน
(อะภินิหาระวัคโค ทุติโย)

3.อิติปิโสภะคะวา คัพภะวุฏฐานะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา คัพภะมะละวิระหิตะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อุตตะมะชาติ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา คะติ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อะภิรูปะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สุวัณณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา มะหาสิริ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อาโรหะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปะรินาหะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สุนิฏฐะ ปาระมิสัมปันโน
(คัพภะวุฏฐานะวัคโค ตะติโย)

4. อิติปิโสภะคะวา อะภิสัมโพธิ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สีละขันธะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สะมาธิขันธะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปัญญาขันธะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ทะวัตติงสะมะหาปุริสะลักขะณะ ปาระมิสัมปันโน
(อะภิสัมโพธิวัคโค จะตุฏโฐ)

5. อิติปิโสภะคะวา มะหาปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปุถุปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา หาสะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ชะวะนะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ติกขะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปัญจะจักขุ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อัฏฐาระสะพุทธะกะระ ปาระมิสัมปันโน
(มะหาปัญญาวัคโค ปัญจะโม)

6. อิติปิโสภะคะวา ทานะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สีละ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา เนกขัมมะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา วิริยะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ขันตี ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สัจจะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อะธิษฐานะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา เมตตา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อุเปกขา ปาระมิสัมปันโน
(ปาระมิวัคโค ฉัฏโฐ)

7. อิติปิโสภะคะวา ทะสะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ทะสะอุปะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ทะสะปะระมัตถะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สะมะติงสะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ตังตังฌานะฌานังคะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อะภิญญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สะติ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สะมาธิ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา วิมุตติ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา วิมุตติญาณะ ปาระมิสัมปันโน
(ทะสะปาระมิวัคโค สัตตะโม)

8. อิติปิโสภะคะวา วิชชาจะระณะวิปัสสะนาวิชชา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา มะโนมะยิทธิวิชชา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อิทธิวิทธิวิชชา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ทิพพะโสตะวิชชา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปะระจิตตะวิชชา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปุพเพนิวาสานุสสะติวิชชา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ทิพพะจักขุวิชชา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา จะระณะวิชชา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา จะระณะธัมมะวิชชา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อะนุปุพพะวิหาระ ปาระมิสัมปันโน
(วิชชาวัคโค อัฏฐะโม)

9. อิติปิโสภะคะวา ปะริญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปะหานะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สัจฉิกิริยา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ภาวะนา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปะริญญาปะหานะสัจฉิกิริยาภาวะนา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา จะตุธัมมะสัจจะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปะฏิสัมภิทาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
(ปะริญญานะวัคโค นะวะโม)

10. อิติปิโสภะคะวา โพธิปักขิยะธัมมะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สะติปัฏฐานะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สัมมัปปะทานะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อิทธิปาทะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อินทรียะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา พะละปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา โพชฌังคะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อัฏฐังคิกะมัคคะธัมมะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา มะหาปุริสะสัจฉิกิริยา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อะนาวะระณะวิโมกขะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อะระหัตตะพะละวิมุตติ ปาระมิสัมปันโน
(โพธิปักขิยะวัคโค ทะสะโม)

11. อิติปิโสภะคะวา ทะสะพะละญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ฐานาฐานะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา วิปากะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สัพพัตถะคามินีปะฏิปะทา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา นานาธาตุญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา นานาธิมุตติกะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อินทริยะปะโรปะริยัตตะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา นิโรธะวุฏฐานะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปุพเพนิวาสานุสสะติญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา จุตูปะปาตะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อาสะวักขะยะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
(ทะสะพะละญาณะวัคโค ทะสะโม)

12 . อิติปิโสภะคะวา โกฏิสะหัสสานังปะกะติสะหัสสานังหัตถีนังพะละธะระ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปุริสะโกฏิทะสะสะหัสสานังพะละธะระ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปัญจะจักขุญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ยะมักกะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สีละคุณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา คุณะปาระมิสะมาปัตติ ปาระมิสัมปันโน
(กายะพะละวัคโค ทะวาทะสะโม)

13. อิติปิโสภะคะวา ถามะพะละ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ถามะพะละญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา พะละ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา พะละญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปุริสะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อะตุละยะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อุสาหะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา คะเวสิญาณะ ปาระมิสัมปันโน
(ถามะพะละวัคโค เตระสะโม)

14. อิติปิโสภะคะวา จะริยา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา จะริยาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา โลกัตถะจะริยา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา โลกัตถะจะริยาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ญาณัตถะจะริยา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ญาณัตถะจะริยาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา พุทธะจะริยา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา พุทธะจะริยาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ติวิธะจะริยา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปาระมิอุปะปาระมิปะระมัตถะ ปาระมิสัมปันโน
(จะริยาวัคโค จะตุระสะโม)

15. อิติปิโสภะคะวา ปัญจุปาทานักขันเธสุอะนิจจะลักขะณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปัญจุปาทานักขันเธสุทุกขะลักขะณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปัญจุปาทานักขันเธสุอะนัตตะลักขะณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อายัตตะเนสุติลักขะณะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อัฏฐาระสะธาตุสุติลักขะณะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา วิปะรินามะลักขะณะ ปาระมิสัมปันโน
(ลักขะณะวัคโค ปัณณะระสะโม)

16. อิติปิโสภะคะวา คะตัตถานะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา คะตัตถานะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา วะสิตะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา วะสิตะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สิกขา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สิกขาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สังวะระ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สังวะระญาณะ ปาระมิสัมปันโน
(คะตัตถานะวัคโค โสฬะสะโม)

17. อิติปิโสภะคะวา พุทธะปะเวณี ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา พุทธะปะเวณีญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ยะมะกะปาฏิหาริยะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ยะมะกะปาฏิหาริยะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา จะตุพรหมวิหาระ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อะนาวะระณะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อะปะริยันตะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สัพพัญญุตะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา จะตุวีสะติโกฏิสะตะวัชชิระ ปาระมิสัมปันโน
(ปะเวณีวัคโค สัตตะระสะโม)

บุญที่ให้ผลในชาติปัจจุบัน (สมเด็จโต พรหมรังสี)


หัวใจของการทำบุญทุกครั้ง
ขอให้ญาติโยมจงแผ่เมตตา และอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลทุกครั้งตามนี้


“ข้าพเจ้า ขออุทิศส่วนบุญส่วนกุศลนี้ไปให้ทุกรูปทุกนามทั้ง 20 ชั้นพรหมโลก 6 ชั้นเทวะโลก มนุษย์โลก มารโลก ยมโลก อบายภูมิทั้ง 4 มี นรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน และในหมื่นโลกธาตุกับอีกแสนจักรวาลพิภพ ทั้งที่เป็นมนุษย์ อมนุษย์ รูปวิญญาณ อรูปวิญญาณและสรรพสัตว์ทั้งหลาย ทั้งที่เป็นมิตรและศัตรู ตลอดจนเจ้ากรรมนายเวรของข้าพเจ้า ขอให้ทุกรูปทุกนาม จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรซึ่งกันและกันเลย อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย ขอให้ทุกรูปทุกนาม จงโมทนาในส่วนกุศลนี้ พึงได้รับประโยชน์ความสุขเช่นเดียวกัน ข้าพเจ้าจะพึงได้รับ ณ กาลบัดนี้ด้วยเทอญ”

บุญที่ทำไปจะส่งผลให้ได้รับบุญในชาติปัจจุบันทันที

คำทำนายประเทศไทยของหลวงพ่อฤาษีลิงดำ


คำทำนายที่เคยมีช้านานนัก
เริ่มประจักษ์ให้เห็นเร้นไม่ได้
หลวงพ่อฤาษีลิงดำ เคยทำนาย

เมื่อถึงปลายรัชกาลผ่านเข้ามา
ประเทศชาติจะรุ่งเรืองและเฟื่องฟุ้ง
น้ำมันผุดขึ้นมาจนเห็นค่า
พวกกาขาวจะบินรี้หนีเข้ามา
เป็นประชาจนเต็มพระนคร

ชนทั่วโลกจะยกพระองค์ท่าน
ชื่อกระฉ่อนร่อนทั่วทุกสิงขร
ออกพระนามลือชื่อดั่งทินกร
องค์อมรเอกบุรุษแห่งแผ่นดิน

ชาวประชาจะปิติยิ้มสดใส
แต่อกไหม้หนอนกินข้างในสิ้น
จะมีพวกกาฝากคอยกัดกิน
เพื่อให้ได้สิ่งถวิลสมจินตนา

จะมีการต่อตีกันกลางเมือง
ขุนนางเขื่องกังฉินกินทั่วหล้า
คอรัปชั่นจะกัดกร่อนทั้งพารา
ประดุจปลวกกินฝานั้นปะไร

ข้าราชการตงฉินถูกประณาม
สามคนหามสี่คนแห่มาลากไส้
เกิดวิกฤติผิดเพี้ยนโดยทั่วไป
โกลาหลหม่นไหม้ไร้ความดี

ประชาชีจะสับสนเรื่องดีชั่ว
ถ้วนทุกทั่วจะหมุดขุดรูหนี
ไม่แน่ใจสิ่งที่ทำนำความดี
เกรงเป็นผีตายตกไปตามกัน

พุทธศาสน์จะถูกรุกและล้ำ
มิตรเคยค้ำเป็นศัตรูมุ่งอาสัญ
เกิดวิกฤติธรรมชาติอุบาทว์ครัน
พายุลั่นน้ำถล่มดินทลาย

แผ่นดินแยกแตกเป็นสองปกครองยาก
เกิดวิบากทุกข์เข็ญระส่ำระสาย
เกิดการปราบจลาจลชนล้มตาย
เลือดเป็นสายน้ำตานองสองแผ่นดิน

ข้าเป็นนายนายเป็นข้าน่าสมเพช
ผู้มีบุญมีเดชจะสูญสิ้น
ทั้งพฤฒาอาจารย์ลือระบิล
จะร่วงรินดุจใบไม้ต้องสายลม

ความระทมจะถมทับนับเทวศ
ดั่งดวงเนตรมืดบอดสุดขื่นขม
คนที่ดีจะก้มหน้าสุดระทม
ส่วนคนชั่วหัวร่อร่าทำท่าดัง

จะมีหนึ่งนารีขี่ม้าขาว
ควงคฑามุ่งสู่ดาวสร้างความหวัง
ผู้ปกครองจะเป็นหญิงพึงระวัง
สายน้ำหลั่งกรากวหวาดเสียวใจ
ศิวิไลซ์จะบังเกิดในสยาม
หลังฝนคร้ามลั่นครืนจะยืนได้
จะเข้าสู่ยุคมหาชนพาไป
เปลี่ยนเมืองใหม่ศักราชแห่งประชา
คนชั่วจะถูกปราบราบคาบสิ้น
แผ่นดินเดือดสูญหายไร้ปัญหา
ประเทศชาติผ่านวิกฤติด้วยศรัทธา
ยามเมื่อฟ้าศรีทองผ่องอำไพ...

วันพฤหัสบดีที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ท่องคาถาให้ขลัง


ถาม : เรื่องเกี่ยวกับคาถาสมัยก่อน....?

ตอบ: สมัยนี้ก็ขลัง สำคัญว่าโยมทำจริงมั้ย ? เรื่องของเวทย์มนต์คาถามันเป็นบาทของอภิญญา คนจะทำอภิญญาต้องเป็นคนเด็ดขาด จริงจัง สม่ำเสมอ ไม่ย่อท้อ สมัยนี้บอกให้ไปท่องคาถา หลวงพ่อท่านมีคาถาอยู่บท เรียกว่า คาถาเงินล้าน ถ้าหากว่าใครท่องจะรวย ท่านบอกว่าอย่างน้อยให้ท่อง ๗ จบ ๙ จบ โยมหลายคนมาบ่น บอกอยากจะรวย ถามว่ารู้จักคาถาเงินล้านมั้ย ? รู้...แล้วเคยท่องมั้ย ? เคย ท่องวันละกี่จบ ? หนึ่งจบ มันน่ารวยอยู่หรอก อาตมาบอกไปท่องไม่ต้องมาก วันละ ๑๐๘ หรือ ๓๐๐ จบก็ได้ เขาถามแล้วอาจารย์เคยท่องวันละกี่จบ ? บอกเคยท่องสูงสุดประมาณ ๑,๒๐๐ มันหมดวันซะก่อน คือท่องกันแบบเอาคุณภาพ ไปช้าๆ อย่ารีบ เหมือนกับกินข้าว ค่อยๆ เคี้ยวหน่อย เอาคุณภาพ ว่าไปเรื่อยๆ สบายๆ ใจไม่ต้องไปนึกอะไร คิดว่าเราทำเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา ของที่ดีที่สุดที่ครูบาอาจารย์ให้มา หน้าที่ของเราคือท่องบ่นเป็นการรักษาไว้ ถ้าเราทำอย่างแบบนี้ จริงจัง สม่ำเสมอ ไประยะหนึ่ง ผลที่มันสะสมตัวมามันจะเริ่มเกิดมันก็จะส่งให้ จุดที่คาถาให้ผลจริงๆ ก็คือ กำลังใจของเราที่เป็นสมาธิ ยิ่งท่องเป็นสมาธิสูงเท่าไหร่ คาถายิ่งให้ผลมากเท่านั้น

สมัยก่อนเขาท่องกันจริงจังสม่ำเสมอ อาตมาเคยรู้จักอดีตโจรคนหนึ่ง แก่มากแล้ว เรียกแกว่า ลุง ถามว่าสมัยของลุงทำไมมันหนังเหนียวกันเยอะแท้ สมัยของพวกผมไม่เห็นได้อย่างลุงเลย บอกไอ้หนูลุงถึงจะเป็นโจร แต่ถ้าหากว่ารู้ตัวเมื่อไหร่ต้องรีบภาวนา เพราะเราไม่รู้ว่าเจ้าทรัพย์จะฆ่าเราหรือเปล่า ? ไม่รู้ว่าตำรวจจะยิงเราหรือเปล่า ? ว่างเมื่อไหร่ต้องภาวนา โอ้โห...ยิ่งกว่าพระอีก เพราะฉะนั้นเขาทำกันอย่างจริงจังสม่ำเสมอ และพวกนี้เขามีสัจจะ คำว่ามีสัจจะ อย่างโจรสมัยก่อนไปปล้น เขามีสัจจะอยู่ ถ้าหากว่าเป็นของที่เขาใช้อยู่จะไม่เอา เอาเฉพาะของที่เขาเก็บ เป็นของที่เขาเก็บก็จะไม่เอาหมด เอาครึ่งหนึ่ง เอาหนึ่งในสาม อะไรอย่างนี้ ถ้าหากเป็นของทำบุญนี่ จะไม่แตะต้องเลย

อาตมาอยู่นครปฐม มีโจรดังอยู่คนหนึ่ง คือ เสือผาด ทับสายทอง วันนั้นแกตั้งใจจะไปปล้นโรงสี ปักป้ายล่วงหน้าไว้ ๗ วัน ถึงวันนั้นฉันไปปล้นแน่ ถ้าอยากจะสบายๆ ก็เก็บเงินเก็บทองใส่กำปั่นรอไว้ ถึงเวลาไปหิ้วเสร็จ ก็จะไปเลย ไม่รบกวนอะไร ถ้าคิดจะสู้ ก็ไปหาคนมา ไปแจ้งตำรวจมาจะได้ฟัดกัน ปรากฏว่าเข้าไปถึงในงาน เถ้าแก่โรงสีกำลังบวชลูกชายอยู่ เสือผาดแทนที่จะได้สตางค์ ต้องควักตัวเองไป ๘๐๐ ไปให้เขา ถ้าทำบุญอยู่เขาไม่ยุ่งเลย แล้วอีกอย่างถ้าไปบ้านไหน เขาเคยให้ข้าวให้น้ำกิน เขาถือเป็นผู้มีบุญคุณ ให้อาหารเป็นการต่อชีวิต เขาจะไม่รบกวนบ้านนั้นอีกเลย

สมัยนี้ไม่มีหรอก มันปล้นกระทั่งพ่อแม่ตัวเอง ข่าวหนังสือพิมพ์ ดูหรือเปล่า มันเป็นสายให้เขาไปปล้น ให้เขาไปขโมยบ้านตัวเองก็มี ในเมื่อไม่มีความจริงจัง ความสม่ำเสมอ ขาดสัจจะ เรื่องเหล่านี้ทำไป ก็ไม่มีผล สมัยก่อนสัจจะเขามี ครูบาอาจารย์ห้ามอะไรเขาจะทำตามนั้น ห้ามด่าแม่คนอื่น ห้ามลอดราวผ้า ลอดใต้ถุนบ้าน เขาทำกันอย่างนั้นเลย

ปัจจุบันอาตมาก็เจอหลายคน เดินๆ ไป เห็นเขามองโน่นมองนี่ เลยถามว่าทำไม ? ระวังอยู่ กลัวจะไปลอดอะไรเข้า ถ้าอย่างนั้นเอ็งไม่ต้องเข้ากรุงเทพ เข้ากรุงเทพเมื่อไหร่ สะพานลอยเพียบ (หัวเราะ) เดี๋ยวมันก็ลอดจนได้ ทำให้จริง เรื่องพวกนี้เป็นเรื่องของคนจริง ต้องทำจริงจัง แล้วจะมีผล ส่วนใหญ่ไปทำๆ ทิ้งๆ ยังไม่ทันจะเกิดผลก็ท้อเสียก่อน

สนทนากับพระเล็ก สุธมฺมปญฺโญ
เดือนพฤศจิกายน ๒๕๔๕
ณ บ้านอนุสาวรีย์ฯ

แพ้


ฉันไม่เข้าใจนะ
ทำไมทุกคนต้องดิ้นรนทำงานหาเงินมากมาย
ทำไปเพื่ออะไรเหรอ

ทำงานมาก ๆ แล้ว (มีความสุขไม๊)
ได้ทุกอย่างที่ต้องการแล้ว (มีความสุขไม๊)
สามารถไปยืนในจุดที่สูงสุดของชีวิตแล้ว (มีความสุขไม๊)

เชื่อฉันไม๊
ทุกครั้งที่คุณสามารถเอาชนะอุปสรรค
เพื่อให้ได้มาซึ่งที่คุณต้องการแล้ว
หรืออีกนัยหนึ่ง ความคุณสามารถสนองความอยากของคุณแล้ว
ทุกครั้งที่คุณได้มา
นิสัยของคุณจะเปลี่ยนไปทีละนิด
จะเปลี่ยนไปตามจำนวนความอยากของคุณ


จิตใจของคุณจะค่อย ๆ แคบลง,
เห็นแก่ตัวมากขึ้น,
และสามารถทำทุกอย่างเพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ตนเองต้องการ
โดยไม่สนใจว่าจะถูกหรือผิด

เพราะในสายตาคุณมองเห็นแค่ชัยชนะ
โดยไม่สนใจหนทางที่ต้องเดินผ่านไป
เพื่อให้ถึงชัยชนะนั้น


สิ่งต่าง ๆ ที่อยากได้
พอตายไปจะเอาไปได้ไม๊
ถ้าพรุ่งนี้คุณต้องตาย
วันนี้คุณมีความสุขไม๊
วันนี้คุณทำดีที่สุดหรือยัง

หรือที่เราทำทุกวันนี้
เรายังต้องพ่ายแพ้อยู่เช่นเดิม
เพราะเรายังแพ้ใจของเราเองอยู่ตลอดเวลา
เราแพ้ความอยากภายในใจ
เราแพ้ความต้องการทางวัตถุ

ทุกวันนี้
"เราแพ้ทุกคน"


ถึงคุณยืนในจุดที่ประสบความสำเร็จ
คุณก็แพ้
เพราะคุณยังต้องดิ้นรนต่อไปเพื่อไม่ให้ใครมาแทนที่ที่คุณอยู่
จริงไม๊