วันศุกร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2554

เงินตรา



ปัญหาสำหรับทุก ๆ คน
เราเชื่อว่า
แต่ละคนมีปัญหาแตกต่างกัน
แต่คงไม่มีใคร "ไม่มีปัญหา"
เพียงแต่เราต้องมองให้เห็นปัญหาจริง ๆ
ซึ่งการมองให้เห็นปัญหานี้
แม้แต่เราเอง
ซึ่งพยายามทำใจให้เย็น ๆ และมองนิ่ง ๆ นาน ๆ
เรายังไม่สามารถตอบคำถามนี้ได้เลย

เราจะสามารถหยุดดิ้นรนได้อย่างไร
ในเมื่อวันนี้
ทุกคน ทุกชีวิตบนโลกใบนี้
ล้วนมีสิ่งเดียวที่ต้องการเหมือนกัน คือ "เงินตรา"

เงินไม่ใช่พระเจ้า
เงินไม่สามารถซื้อทุกสิ่งทุกอย่างบนโลกได้
แต่เงินสามารถอำนวยความสะดวกให้เราไปถึงที่หมายได้ง่ายมากขึ้น

เมื่อถึงวันหนึ่งที่เรามีเงินเพียงพอแล้ว
เพียงพอต่อความต้องการขั้นพื้นฐาน
แล้ววันนั้นเราสามารถหยุดได้หรือไม่

คนที่ยังไม่มีก็ต้องดิ้นรนกันต่อไป
แล้วคนที่มีเพียงพอแล้วล่ะ
คุณสามารถปลดปล่อยตนเองจากสิ่งที่พันธนาการคุณไว้ได้หรือไม่
คำถามง่าย ๆ
ที่บางคนไม่สามารถหาคำตอบได้
และเราก็เป็นหนึ่งในนั้น

วันเสาร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2554

รินหัวใจใส่งาน



ท่าน ว.วชิรเมธีได้เดินทางไปเมืองจีน ไปเห็นกำแพงเมืองที่มีอายุยืนยาวถึงสองสามพันปี
ท่านได้ถามมัคคุเทศก์ว่า "ทำไมมันทนจัง"
มัคคุเทศก์บอกว่า "จิ๋นซีฮ่องเต้ โปรดให้ปั้นอิฐแต่ละก้อนด้วยวิธีพิเศษ แล้วทุกคนที่ปั้นอิฐจะต้องจารึกชื่อตัวเองไว้ที่ก้อนอิฐ เมื่อเผาเสร็จแล้วจึงเอาไปก่อกำแพง ฝนตกแดดส่อง ถ้าอิฐของใครสึกหรอก เอาคนปั้นที่มีชื่อเขียนติดไว้ไปตัดหัว แล้วเอาศพฝังใต้ซากกำแพงเมือง"

ด้วยเหตุนี้ เจ้าหน้าที่ทุกคนจึงตั้งใจบรรจงปั้นอิฐอย่างสุดความสามารถ เพราะกลัวตายจึงตั้งใจปั้นจริง ๆ อิฐทุกก้อนจึงอยู่คงทนยาวนานมาถึงทุกวันนี้ ถ้าเราทำได้เหมือนคนปั้นอิฐของจิ๋นซีฮ่องเต้ งานของเราจะเป็นงานที่ดีที่สุด

ลูกค้าที่มาเจอหน่วยงานเราจะประทับใจกลับไป อย่าทำงานเหมือนลวกก๋วยเตี๋ยว ลวก ๆ สุกบ้างไม่สุกบ้าง
ทำงานต้องทำให้ดี ต้องประณีต
ประณีตหมายถึงรินใจใส่งาน
ถ้ารินใจใส่งานจะได้งานชิ้นเอกทุกเรื่องทุกครั้งไป

งานที่สำคัญที่สุด คือ งานที่เราทำอยู่ตอนนี้ ทำให้ดีที่สุด
ถ้าเราทำให้ดีที่สุด ตอนนี้
มันจะกลายเป็นพรุ่งนี้ที่ดีที่สุด
เมื่อมันเป็นวันวายมันก็เป็นวันวายที่ดีที่สุด
แล้วเราจะมีความสุขกับมัน ถ้าเราทำอย่างดีที่สุด


ที่มา ::
งานสัมฤทธิ์ ชีวิตรื่นรมย์
ท่าน ว.วชิรเมธี

งานที่สำคัญที่สุด


งานที่สำคัญที่สุด คือ งานที่เราทำอยู่ในขณะนี้

เราทำงานอะไร จงใส่จิตใส่ใจกับมันให้เต็มร้อย
อย่าสักแต่ว่าทำ
เพราะว่าถ้าสักแต่ว่าทำงานก็ไม่ดีความสามารถเราก็ไม่พัฒนา
ทำอะไรก็พยายามทำให้ดีที่สุด
พระพุทธเจ้าเวลาทำงาน
ทรงรับสั่งว่า "ฉันทำงานเหมือนราชสีห์"
ราชสีห์เวลาจับหนู โดดตะครุบด้วยเรี่ยวแรงทั้งหมดด้วยศักยภาพทั้งหมด

เราทุกคนก็เช่นกัน
เวลาทำงาน งานของเราต้องสำคัญที่สุด
ไม่ทำสักแต่ว่าทำ แต่จะต้องทำให้ดีที่สุด
เพราะถ้าเราทำให้ดีที่สุด
ผลงานของมันจะประกาศศักยภาพของเราไปตลอดชีวิต


ที่มา ::
งานสัมฤทธิ์ ชีวิตรื่นรมย์
ท่าน ว.วชิรเมธี

คนที่สำคัญที่สุด



คนที่สำคัญที่สุด คือ "คนที่อยู่ตรงหน้า"

ทำไมคนที่อยู่ข้างหน้าเราจึงสำคัญ ก็เพราะว่ามนุษย์พบเจอกันไม่บ่อยนัก
ในชีวิตนี้มนุษย์ที่มาปฏิสัมพันธ์กันเหมือนไม้สองท่อน
ที่ลอยมาคนละทิศคนละทางมาเจอกันกลางทะเล
ทะเลกว้างแสนกว้างแต่ไม้สองท่อนยังคงไหลมาเจอกันได้
เมื่อไหลมาเจอกันโครม
แล้วในที่สุดก็จะไหลจากกันไป
คงไม่มีไม้ท่อนไหนที่ไหลมาชนกันโครม แล้วอยู่ติดกันตลอดไป

ชีวิตเราไหลมาเจอพ่อเจอแม่ อยู่ด้วยกันไม่กี่ปีพ่อแม่ตายจาก
ไหลมาเจอสามีหรือภรรยาในดวงใจ อยู่กันไปไม่กี่ปีบางทีไม่ตายจาก แต่เขาก็จากไปเอง
เพราะฉะนั้น วิถีชีวิตของมนุษย์เราจะเจอกันแค่ชั่วคราวเท่านั้น
ถึงเราจะรักกันแค่ไหนจะดีต่อกันแค่ไหนก็ตาม ก็ชั่วคราวเท่านั้น

เพราะฉะนั้นเรามาเจอกันแค่ชั่วคราว ควรจะดูแลโมงยามที่แสนสั้นนี้ให้ดีที่สุด ให้เป็นชั่วคราวที่งดงามที่สุด

ที่มา ::
งามสัมฤทธิ์ ชีวิตรื่นรมย์
ท่าน ว.วชิรเมธี

วันเสาร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

พระคาถาอาการะวัตตาสูตร

อานิสงส์พระอาการะวัตตาสูตร
.......... ชนทั้งหลายเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ได้เจริญพระอาการะวัตตาสูตรนี้ แม้เพียงครั้งหนึ่งจะคุ้มครองภัยอันตราย ๓๐ ประการ ได้ถึง ๔ เดือน ยกเว้นแต่ภัยอันตรายที่บังเกิดขึ้นแล้วแต่ผลวิบากแห่งอกุศลกรรมเท่านั้น ถ้าผู้ใดเจริญ พระสูตรนี้เป็นนิจ บาปกรรมทั้งปวงก็จะไม่ได้ช่องหยั่งลงไปในสันดาน เว้นแต่กรรมเก่าตามมาทันเท่านั้น ผู้ใด อุตสาหะตั้งจิตใจเล่าเรียน ได้ใช้สวดมนต์ก็ดี บอกเล่าผู้อื่นให้เลื่อมใสก็ดี เขียนเองก็ดี กระทำสักการะบูชา เคารพนับถือพร้อมกาย วาจา ใจก็ดี ผู้นั้นจะปราถนาสิ่งใดก็จะสำเร็จผลทุกประการ แม้จะปราถนา พระพุทธภูมิ พระปัจเจกภูมิ พระอัครสาวกภูมิหรือ จะปราถนามนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ นิพพานสมบัติ ก็ส่งผลให้ได้สำเร็จสมความปราถนาทั้งนั้น

ก่อนสวดพระอาการะวัตตาสูตร
ตั้งนะโมฯ ๓ จบ
แล้วบูชาด้วย

" เอวัมเม สุตัง เอกัง สะมะยัง ภะคะวา ราชะคะเห วิหะระติ คิชฌะกูเฏ ปัพพะเต เตนะ โข ปะนะ สะมะเยนะ สัพพะสัตตานัง พุทธะคุโณ ธัมมะคุโณ สังฆะคุโณ อายัสมา อานันโท อนุรุทโธ สารีปุตโต โมคคัลลาโน มะหิทธิโก มะหานุภาเวนะ สัตตานัง เอตะทะโวจะ "

พระคาถาอาการะวัตตาสูตร
1. อิติปิโสภะคะวา อะระหัง
อิติปิโสภะคะวา สัมมาสัมพุทโธ
อิติปิโสภะคะวา วิชชาจะระณะสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สุคะโต
อิติปิโสภะคะวา โลกะวิทู
อิติปิโสภะคะวา อะนุตตะโรปุริสะธัมมะสาระถิ
อิติปิโสภะคะวา สัตถาเทวะมะนุสสานัง
อิติปิโสภะคะวา พุทโธ
อิติปิโสภะคะวา ภะคะวาติ
(พุทธะคุณะวัคโค ปะฐะโม)

2. อิติปิโสภะคะวา อะภินิหาระ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อุฬารัชฌาสะยะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปะนิธานะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา มะหากะรุณา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปะโยคะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ยุติ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ชุติ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา คัพภะโอกกันติ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา คัพภะฐิติ ปาระมิสัมปันโน
(อะภินิหาระวัคโค ทุติโย)

3.อิติปิโสภะคะวา คัพภะวุฏฐานะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา คัพภะมะละวิระหิตะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อุตตะมะชาติ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา คะติ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อะภิรูปะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สุวัณณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา มะหาสิริ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อาโรหะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปะรินาหะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สุนิฏฐะ ปาระมิสัมปันโน
(คัพภะวุฏฐานะวัคโค ตะติโย)

4. อิติปิโสภะคะวา อะภิสัมโพธิ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สีละขันธะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สะมาธิขันธะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปัญญาขันธะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ทะวัตติงสะมะหาปุริสะลักขะณะ ปาระมิสัมปันโน
(อะภิสัมโพธิวัคโค จะตุฏโฐ)

5. อิติปิโสภะคะวา มะหาปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปุถุปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา หาสะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ชะวะนะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ติกขะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปัญจะจักขุ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อัฏฐาระสะพุทธะกะระ ปาระมิสัมปันโน
(มะหาปัญญาวัคโค ปัญจะโม)

6. อิติปิโสภะคะวา ทานะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สีละ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา เนกขัมมะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา วิริยะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ขันตี ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สัจจะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อะธิษฐานะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา เมตตา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อุเปกขา ปาระมิสัมปันโน
(ปาระมิวัคโค ฉัฏโฐ)

7. อิติปิโสภะคะวา ทะสะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ทะสะอุปะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ทะสะปะระมัตถะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สะมะติงสะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ตังตังฌานะฌานังคะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อะภิญญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สะติ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สะมาธิ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา วิมุตติ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา วิมุตติญาณะ ปาระมิสัมปันโน
(ทะสะปาระมิวัคโค สัตตะโม)

8. อิติปิโสภะคะวา วิชชาจะระณะวิปัสสะนาวิชชา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา มะโนมะยิทธิวิชชา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อิทธิวิทธิวิชชา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ทิพพะโสตะวิชชา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปะระจิตตะวิชชา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปุพเพนิวาสานุสสะติวิชชา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ทิพพะจักขุวิชชา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา จะระณะวิชชา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา จะระณะธัมมะวิชชา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อะนุปุพพะวิหาระ ปาระมิสัมปันโน
(วิชชาวัคโค อัฏฐะโม)

9. อิติปิโสภะคะวา ปะริญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปะหานะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สัจฉิกิริยา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ภาวะนา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปะริญญาปะหานะสัจฉิกิริยาภาวะนา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา จะตุธัมมะสัจจะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปะฏิสัมภิทาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
(ปะริญญานะวัคโค นะวะโม)

10. อิติปิโสภะคะวา โพธิปักขิยะธัมมะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สะติปัฏฐานะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สัมมัปปะทานะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อิทธิปาทะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อินทรียะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา พะละปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา โพชฌังคะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อัฏฐังคิกะมัคคะธัมมะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา มะหาปุริสะสัจฉิกิริยา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อะนาวะระณะวิโมกขะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อะระหัตตะพะละวิมุตติ ปาระมิสัมปันโน
(โพธิปักขิยะวัคโค ทะสะโม)

11. อิติปิโสภะคะวา ทะสะพะละญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ฐานาฐานะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา วิปากะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สัพพัตถะคามินีปะฏิปะทา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา นานาธาตุญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา นานาธิมุตติกะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อินทริยะปะโรปะริยัตตะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา นิโรธะวุฏฐานะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปุพเพนิวาสานุสสะติญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา จุตูปะปาตะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อาสะวักขะยะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
(ทะสะพะละญาณะวัคโค ทะสะโม)

12 . อิติปิโสภะคะวา โกฏิสะหัสสานังปะกะติสะหัสสานังหัตถีนังพะละธะระ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปุริสะโกฏิทะสะสะหัสสานังพะละธะระ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปัญจะจักขุญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ยะมักกะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สีละคุณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา คุณะปาระมิสะมาปัตติ ปาระมิสัมปันโน
(กายะพะละวัคโค ทะวาทะสะโม)

13. อิติปิโสภะคะวา ถามะพะละ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ถามะพะละญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา พะละ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา พะละญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปุริสะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อะตุละยะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อุสาหะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา คะเวสิญาณะ ปาระมิสัมปันโน
(ถามะพะละวัคโค เตระสะโม)

14. อิติปิโสภะคะวา จะริยา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา จะริยาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา โลกัตถะจะริยา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา โลกัตถะจะริยาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ญาณัตถะจะริยา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ญาณัตถะจะริยาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา พุทธะจะริยา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา พุทธะจะริยาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ติวิธะจะริยา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปาระมิอุปะปาระมิปะระมัตถะ ปาระมิสัมปันโน
(จะริยาวัคโค จะตุระสะโม)

15. อิติปิโสภะคะวา ปัญจุปาทานักขันเธสุอะนิจจะลักขะณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปัญจุปาทานักขันเธสุทุกขะลักขะณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปัญจุปาทานักขันเธสุอะนัตตะลักขะณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อายัตตะเนสุติลักขะณะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อัฏฐาระสะธาตุสุติลักขะณะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา วิปะรินามะลักขะณะ ปาระมิสัมปันโน
(ลักขะณะวัคโค ปัณณะระสะโม)

16. อิติปิโสภะคะวา คะตัตถานะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา คะตัตถานะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา วะสิตะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา วะสิตะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สิกขา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สิกขาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สังวะระ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สังวะระญาณะ ปาระมิสัมปันโน
(คะตัตถานะวัคโค โสฬะสะโม)

17. อิติปิโสภะคะวา พุทธะปะเวณี ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา พุทธะปะเวณีญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ยะมะกะปาฏิหาริยะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ยะมะกะปาฏิหาริยะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา จะตุพรหมวิหาระ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อะนาวะระณะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อะปะริยันตะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สัพพัญญุตะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา จะตุวีสะติโกฏิสะตะวัชชิระ ปาระมิสัมปันโน
(ปะเวณีวัคโค สัตตะระสะโม)

บุญที่ให้ผลในชาติปัจจุบัน (สมเด็จโต พรหมรังสี)


หัวใจของการทำบุญทุกครั้ง
ขอให้ญาติโยมจงแผ่เมตตา และอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลทุกครั้งตามนี้


“ข้าพเจ้า ขออุทิศส่วนบุญส่วนกุศลนี้ไปให้ทุกรูปทุกนามทั้ง 20 ชั้นพรหมโลก 6 ชั้นเทวะโลก มนุษย์โลก มารโลก ยมโลก อบายภูมิทั้ง 4 มี นรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน และในหมื่นโลกธาตุกับอีกแสนจักรวาลพิภพ ทั้งที่เป็นมนุษย์ อมนุษย์ รูปวิญญาณ อรูปวิญญาณและสรรพสัตว์ทั้งหลาย ทั้งที่เป็นมิตรและศัตรู ตลอดจนเจ้ากรรมนายเวรของข้าพเจ้า ขอให้ทุกรูปทุกนาม จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรซึ่งกันและกันเลย อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย ขอให้ทุกรูปทุกนาม จงโมทนาในส่วนกุศลนี้ พึงได้รับประโยชน์ความสุขเช่นเดียวกัน ข้าพเจ้าจะพึงได้รับ ณ กาลบัดนี้ด้วยเทอญ”

บุญที่ทำไปจะส่งผลให้ได้รับบุญในชาติปัจจุบันทันที

คำทำนายประเทศไทยของหลวงพ่อฤาษีลิงดำ


คำทำนายที่เคยมีช้านานนัก
เริ่มประจักษ์ให้เห็นเร้นไม่ได้
หลวงพ่อฤาษีลิงดำ เคยทำนาย

เมื่อถึงปลายรัชกาลผ่านเข้ามา
ประเทศชาติจะรุ่งเรืองและเฟื่องฟุ้ง
น้ำมันผุดขึ้นมาจนเห็นค่า
พวกกาขาวจะบินรี้หนีเข้ามา
เป็นประชาจนเต็มพระนคร

ชนทั่วโลกจะยกพระองค์ท่าน
ชื่อกระฉ่อนร่อนทั่วทุกสิงขร
ออกพระนามลือชื่อดั่งทินกร
องค์อมรเอกบุรุษแห่งแผ่นดิน

ชาวประชาจะปิติยิ้มสดใส
แต่อกไหม้หนอนกินข้างในสิ้น
จะมีพวกกาฝากคอยกัดกิน
เพื่อให้ได้สิ่งถวิลสมจินตนา

จะมีการต่อตีกันกลางเมือง
ขุนนางเขื่องกังฉินกินทั่วหล้า
คอรัปชั่นจะกัดกร่อนทั้งพารา
ประดุจปลวกกินฝานั้นปะไร

ข้าราชการตงฉินถูกประณาม
สามคนหามสี่คนแห่มาลากไส้
เกิดวิกฤติผิดเพี้ยนโดยทั่วไป
โกลาหลหม่นไหม้ไร้ความดี

ประชาชีจะสับสนเรื่องดีชั่ว
ถ้วนทุกทั่วจะหมุดขุดรูหนี
ไม่แน่ใจสิ่งที่ทำนำความดี
เกรงเป็นผีตายตกไปตามกัน

พุทธศาสน์จะถูกรุกและล้ำ
มิตรเคยค้ำเป็นศัตรูมุ่งอาสัญ
เกิดวิกฤติธรรมชาติอุบาทว์ครัน
พายุลั่นน้ำถล่มดินทลาย

แผ่นดินแยกแตกเป็นสองปกครองยาก
เกิดวิบากทุกข์เข็ญระส่ำระสาย
เกิดการปราบจลาจลชนล้มตาย
เลือดเป็นสายน้ำตานองสองแผ่นดิน

ข้าเป็นนายนายเป็นข้าน่าสมเพช
ผู้มีบุญมีเดชจะสูญสิ้น
ทั้งพฤฒาอาจารย์ลือระบิล
จะร่วงรินดุจใบไม้ต้องสายลม

ความระทมจะถมทับนับเทวศ
ดั่งดวงเนตรมืดบอดสุดขื่นขม
คนที่ดีจะก้มหน้าสุดระทม
ส่วนคนชั่วหัวร่อร่าทำท่าดัง

จะมีหนึ่งนารีขี่ม้าขาว
ควงคฑามุ่งสู่ดาวสร้างความหวัง
ผู้ปกครองจะเป็นหญิงพึงระวัง
สายน้ำหลั่งกรากวหวาดเสียวใจ
ศิวิไลซ์จะบังเกิดในสยาม
หลังฝนคร้ามลั่นครืนจะยืนได้
จะเข้าสู่ยุคมหาชนพาไป
เปลี่ยนเมืองใหม่ศักราชแห่งประชา
คนชั่วจะถูกปราบราบคาบสิ้น
แผ่นดินเดือดสูญหายไร้ปัญหา
ประเทศชาติผ่านวิกฤติด้วยศรัทธา
ยามเมื่อฟ้าศรีทองผ่องอำไพ...